วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555



คอมพิวเตอร์

หมายถึง  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลได้ถูกต้อง ทำหน้าที่ ในการจัดเก็บข้อมูลตามคำสั่งมนุษย์ การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เหมือนกับระบบความคิดของคน
     การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย  3  หน่วยคือ หน่วยรับข้อมูล , หน่วยประมวลผล และหน่วยแสดงผล
เริ่มต้นการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์
การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ จะแบ่งออกเป็นหลักๆ ได้ 3 อย่าง
       
1. การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ ทางด้าน Hardware (ฮาร์ดแวร์) อุปกรณ์ต่างๆ ภายใน และภายนอกคอมพิวเตอร์
         
- เรื่องความสะอาด เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับ การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่าง หากไม่ทำความสะอาดเลยจนมีฝุ่นไปติดตามที่ระบายอากาศของคอมพิวเตอร์ จะทำให้การระบายความร้อนไม่ได้ เป็นสาเหตุให้คอมพิวเตอร์ร้อน และเกิดอาการเครื่องค้าง หรือแฮงค์ หรือจะเป็นเรื่องปุ่มคีย์บอร์ด หากไม่ทำความสะอาดเลยเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน บริเวณปุ่มกดจะสกปรกมาก ๆ ซึ่งเมืองนอกวิจัยกันมาแล้วว่า สกปรกพอ ๆ กับห้องน้ำ เลยทีเดียว ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพแน่นอน
       
  - ที่ตั้งของคอมพิวเตอร์ ที่เราไปวางไว้เป็นมุมอับ การระบายความร้อนจะไม่ดีเท่าที่ควร แนะนำ อย่าวางใกล้ชิดติดกำแพง หรือไปวางในมุมอับ ควรเป็นมุมที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก จะดีที่สุด ถ้าไม่มีมุมที่ตั้งจริงๆ ก็เอาพัดลมเป่าช่วยก็ได้
       
 2. การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ ทางด้าน Software (ซอฟต์แวร์) โปรแกรมที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เรื่องการดูแลรักษา Software  มีโอกาสเจอได้หลายรูปแบบ มีข้อระมัดระวัง คือ
          - การลงโปรแกรม  ลงเฉพาะที่เราใช้ การลงโปรแกรมมากไปจะทำให้เครื่องอืด หรือช้า จนถึงอาการที่เรียกว่า แฮงค์
          - การเก็บข้อมูล ข้อมูล เอกสาร ไฟล์ต่างๆ ที่เราจะเก็บไว้ แนะนำอย่าไปเก็บใน Drive C: ควรเก็บไว้ Drive อื่นแทน ส่วนมาก Drive C ควรลงเฉพาะโปรแกรม ไม่ควรเก็บไฟล์งานที่สำคัญ หรือพวกหนังเพลงเอาไว้ เนื่องจากส่วนมากเวลามีปัญหาจะเกิดกับ Drive C เป็นหลัก อีกอย่างเมื่อต้องการล้างเครื่องลงโปรแกรมใหม่ ก็สามารถลบ Drive C แล้วลงใหม่ได้ Windows หรือระบบปฏิบัติการใหม่ได้เลย ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาย้ายข้อมูลไปไว้ Drive อื่น


          - การเข้า Web ผู้ใหญ่ เช่น เว็บโป๊ ส่วนมากเว็บแนวนี้เป็นช่องทางที่ดีเลยครับสำหรับ พวก Hacker เพราะสามารถฝังไวรัส หรือ สปายแวร์ ไว้กับเครื่องผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บดังกล่าว ส่วนมากจะมีกิจกรรมให้ทำหน้าเว็บ เช่น เชิญคลิก อะไรประมาณนี้ เมื่อเราคลิกแล้วก็จะติดตั้งไวรัส หรือ สปายแวร์ ลงเครื่องผู้ใช้ ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงเว็บเหล่านี้ หากเลี่ยงไม่ได้เมื่อเข้าไปแล้วก็พยายามอย่าคลิกอะไรมั่ว ๆ นะ
          - ติดโปรแกรมพวกป้องกัน ป้องกันไว้รัส ป้องกันสปายแวร์ และหมั่น Update โปรแกรมพวกนี้อยู่เสมอ จะช่วยได้ระดับหนึ่งเลย
          - การดูแล และ บำรุงรักษาระบบ ขั้นพื้นฐาน สิ่งที่ทำก็คือ Disk Cleanup ( เก็บกวาดขยะบนฮาร์ดดิส ), Check disk ( ตรวจสอบสภาพฮาร์ดดิส ) และ Disk Defragmenter ( จัดเรียงข้อมูลเพื่อเร่งความเร็ว )
          3. การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ทางด้าน Peopleware (พีเพิลแวร์) บุคคลที่ใช้งาน คอมพิวเตอร์
          - หมั่นศึกษาหาข้อมูล ด้วยการอ่านหนังสือ หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ให้ความรู้
          - ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานช้า เวลาสั่งคอมพิวเตอร์ให้ทำอะไร ควรรอคอมพิวเตอร์ประมวลผลให้เสร็จก่อนที่จะทำการเปิดโปรแกรมอื่น ๆ เพราะถ้าเราเปิดโปรแกรมอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมาอีกจะทำให้คอมพิวเตอร์แฮงค์ หรือค้างได้
การบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
     เพื่อให้สามารถใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้นานขึ้น จึงควรรู้จักวิธีการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์บ้าง โดยในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงสิ่งที่เป็นอันตรายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์และปัญหาทั่วไปในการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยมีรายละเอียดังต่อไปนี้
สิ่งที่เป็นอันตรายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์
      สิ่งที่เป็นอันตรายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญก็คือลักษณะการใช้งานและสภาพแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ ความร้อน แสงแดด ฝุ่นละออง น้ำ กระแสไฟฟ้า หรือสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์หลายคนมองข้ามไปแต่ที่จริงแล้วสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดอันตรายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างมาก ดังนี้

- การเปิด – ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์บ่อย ๆ
         เมื่อมีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าไปในตัวเครื่องทันที ทำให้เกิดการกระชากของกระแสไฟฟ้าขึ้น ซึ่งหากการกระชากไฟนี้เกินกว่าที่ชิ้นส่วนบนแผงวงจรจะรับได้ จะทำให้แผงวงจรนั้นไม่สามารถทำงานได้
ดังนั้นถ้าไม่สามารถเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ก็ควรเปิด-ปิดเครื่องให้น้อยที่สุ
- ความร้อน
       ความร้อน  ที่เกิดขึ้นภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดมาจากการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แต่ละชิ้น ซึ่งความร้อนนี้หากสูงเกินขอบเขตที่ฮาร์ดแวร์ทนได้ก็จะทำให้เกิดการเสื่อมของฮาร์ดแวร์ชิ้นนั้น ดังนั้นจึงต้องมีวิธีที่ใช้ในการระบายความร้อนออกจากเครื่องคอมิวเตอร์ เช่นการระบายความร้อนด้วยการติดตั้งพัดลมที่มีขนาดใหญ่หรือการติดตั้งพัดลมเพิ่มเข้าไปการใช้งานเครื่อง คอมพิวเตอร์ในช่วงเวลาที่มีอุณหภูมิเหมาะสม การใช้เคสที่มีระบบระบายความร้อนที่ดี ซึ่งเคสที่มีระบบระบายความร้อนที่ดีในปัจจุบันนี้ก็คือเคสแบบ ATX ซึ่งต้องทำงานร่วมกับเมนบอร์ดแบบ ATX ด้วย โดยที่เคสและเมนบอร์ดชนิดนี้จะได้รับการออก
แบบมาโดยคำนึงถึงหลักการระบายความร้อนที่ดี เป็นต้น การจัดวางเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถถ่ายเทอากาศได้อย่างสะดวกก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความร้อนได้ โดยในการจัดวางเครื่องคอมพิวเตอร์ควรจะจัดให้ตำแหน่งด้านหลังของเครื่องอยู่ห่างจากผนังหรือกำแพงพอสมควรเพื่อให้สามารถถ่ายเทอาศได้อย่างสะดวกแสงแดด ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความร้อนขึ้นได้ ซึ่งโดยปกติแล้วอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชิ้นไม่ควรถูกจัดวางให้สัมผัสกับแสงแดด เครื่องคอมพิวเตอร์ก็เช่นกันไม่ควรจัดวางให้สัมผัสกับแสงแดดโดยตรง
- ฝุ่นละออง
                ฝุ่นละออง เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ เสียหายได้เร็วขึ้น เนื่องจากฝุ่นละอองจะเข้าไปขัดขวางทางเดินของกระแสไฟฟ้าบนแผงวงจร ทำให้ฮาร์ดแวร์ชิ้นนั้นทำงานได้ไม่เต็มที่หรือทำงานติดขัด นอกจากนี้ ฝุ่นละอองยังเป็นตัวปิดกั้นไม่ให้ความร้อนระบายออกไปได้ ฮาร์ดแวร์ชิ้นหนึ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงจากฝุ่นเป้นอย่างยิ่งก็คือ เครื่องพิมพ์ (Printer) เนื่องจากหากฝุ่นได้เข้าไปเกาะอยู่บนหัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์แล้ว จะเข้าไปขวางกั้นการทำงานขอเครื่องพิมพ์ โดยเฉพาะ

- น้ำ
        น้ำ  หรือของเหลว เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้ฮาร์ดแวร์ชิ้นต่าง ๆ เสียหายได้ เนื่องจากฮาร์ดแวร์ทุกชิ้นต้องใช้ไฟฟ้าในการทำงานและน้ำก็เป็นตัวการที่ทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร ดังนั้นจึงไม่ควรนำน้ำหรือของเหลวใด ๆ เข้าใกล้ฮาร์ดแวร์ทุกชิ้นแต่หากต้องใช้น้ำในการทำความสะอาดก็ควรถอดปลั๊กไฟออกก่อน และใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดทำความสะอาด แล้วใช้ผ้าแห้งเช็ดซ้ำ
- กระแสไฟฟ้า
         กระแสไฟฟ้า  ที่หล่อเลี้ยงให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ก็สามารถสร้างความเสียหายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยมีสาเหตุมาจากไฟตก ไฟเกิน ไฟดับ และไฟกระชาก ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ไฟดับหรือไฟกระชาก จะทำให้ฮาร์ดแวร์หยุดทำงานชั่วคราวจนกว่าจะมีกระแสไฟฟ้ากลับมาหล่อเลี้ยงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในช่วงเวลาที่ฮาร์ดแวร์หยุดทำงานอย่างฉับพลันนี้อาจจะเป็นสาเหตุทำให้ฮาร์ดแวร์เสียหายได้
- สนามแม่เหล็กไฟฟ้า
         สนามแม่เหล็กไฟฟ้า  ที่เกิดจากฮาร์ดแวร์ชิ้นหนึ่งอาจจะไปรบกวนการทำงานของฮาร์ดแวร์อีกชิ้นหนึ่ง จนทำให้ฮาร์ดแวร์ที่ถูกรบกวนเสียหายได้ เช่น ลำโพงจากชุดมัลติมีเดีย ที่ไม่มีการป้องกันสนามแม่เหล็กไม่ให้แผ่กระจายออกไป สามารถทำอันตราย จอภาพได้เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ออกมาจากลำโพง จะไปรบกวนการสัญญาณของหลอดภาพที่อยู่ภายในตัวจอภาพ ทำให้การแสดงภาพและสีผิดเพี้ยนไป และเมื่อใช้งานไปนานทำให้จอภาพที่ถูกรบกวนด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไม่สามารถแสดงผลได้ครบทุกสีหรือจอภาพอาจจะเสียไปก็ได้เป็นต้น
- การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์และฮาร์ดแวร์ชิ้นอื่น ๆ
        ก่อนการซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้งต้องปิดสวิตซ์เครื่องและดึงปลั๊กไฟออกจากเต้าเสียบเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า และสิ่งต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อไม่ให้ เครื่องคอมพิวเตอร์และฮาร์ดแวร์ชิ้นต่าง ๆ เสียหาควรปิดเครื่องให้สนิทอยู่เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้หนูหรือแมลงสาบเข้าไปทำความเสียหายภายในเครื่องในกรณีที่ดึง แผ่นเหล็กปิดสล็อตด้านหลังเครื่องออกเพื่อใส่การ์ดต่าง ๆ เข้าไปก็ควรเก็บแผ่นเหล็กนั้นเองด้วยเพื่อเวลาที่ไม่ได้ใช้การ์ดนั้นแล้วจะได้นำแผ่นเหล็กมาปิดกลับคืน


- ด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์
          ส่วนใหญ่จะมีพัดลมระบายอากาศอยู่หนึ่งตัว ซึ่งจะหมุนตลอดเวลาที่เปิดเครื่องพัดลมตัวนี้จะทำหน้าที่ดูดอากาศออกจากตัวเครื่องเพื่อระบายความร้อนให้กับระบบจ่ายไฟ จึงควรตรวจบริเวณหลังเครื่องเป็นครั้งคราวเพื่อดูว่ามีลมเป่าออกมาหรือไม่หากไม่มีก็ควรรีบเปลี่ยนโดยด่วน มิฉะนั้นทำให้อุณหภูมิในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงเกินไปและจำมีผลเสียต่อตัวเครื่อง
- ควรเปิดฝาครอบเครื่องออกมาเป่าฝุ่นที่เกาะอยู่ตามแผงขงจรสัก 2 เดือนครั้ง แต่หากเครื่องคอมพิวเตอร์บริเวณที่มีฝุ่นมาก ๆ อาจจะต้องเป่าเดือนละครั้ง ถ้าไม่มีเครื่องเป่าลมก็ให้ใช้แปรงทาสี ที่มีขนนุ่ม ๆ มาทำความสะอาดฝุ่นละอองที่เกาะบนแผงวงจรภายในเครื่องซึ่งจะช่วยให้กระระบายความร้อนดีขึ้น
- ควรต่อสายดินจากเคสส่วนที่เป็นโลหะแล้วนำไปต่อกับโลหะชิ้นอื่นที่ตั้งอยู่บนพื้น เช่น ท่อน้ำเหล็กประตูโครงฝ้า ที่เป้นอลูมิเนียมเพื่อให้สามารถระบายกระแสไฟฟ้าลงดินได้การต่อสายดินนี้จะช่วยแก้ปัญหาจากตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้ไม่ถูกไฟดูดเวลาเผลอไปแตตัวเครื่อง  รวมทั้งยังช่วยลดความรุนแรงปัญหาไฟกระชากได้อีกด้วย
- ในพื้นที่ที่มีปัญหาไฟดับ ไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชากอยู่บ่อย ๆ ควรซื้อยูพีเอส (UPS) มาใช้งานซึ่งนอกจากช่วยรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่และกรองสัญญาณไฟฟ้าได้แล้วยังจ่ายไฟฟ้าสำรองได้อีกด้วยสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่อไปได้อีก 10-15 นาทีทำให้บันทึกข้อมูลได้ทัน
-  ในกรณีที่ต้องใช้ฮาร์ดแวร์หลายชิ้นกับปลั๊ก 3 ตาเพียงอันเดียวเพื่อต่อทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์สแกนเนอร์โมเด็มและฮาร์ดแวร์ชิ้นอื่น ๆ ควรใช้ปลั๊กรางสำหรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขายอยู่โดยทั่วไปแทน ซึ่งปลั๊กรางนี้จะช่องเสียบหลายช่อง และมีเต้าสำหรับใช้กับปลั๊กแบบ 3 ขาได้ และไม่ควรใช้ตลับสายไฟที่เป็นม้วนกลม เนื่องจากมักจะทำจากอุปกรณ์ราคาถูกเมื่อเสียบปลั๊กแล้วไม่แน่น ทำให้ปลั๊กหลวมจนเครื่องดับในระหว่างการใช้งานและอาจเกิดการสปาร์กที่ปลั๊ก ทำให้เกิดสัญญาณรบกวนระบบไฟฟ้าและถ้าสปาร์กบ่อย ๆ จะทำให้เกิดความร้อนสะสมจนอาจเกิดไฟไหม้ได้


- อย่าปิดแล้วเปิดเครื่องใหม่ทันที นอกจากจะทำให้จอภาพเสียเร็วแล้ว จะทำให้ภาคจ่ายไฟแบบสวิตซึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์มีอายุการใช้งานสั้นลงด้วย แต่หากต้องการปิดแล้วเปิดเครื่องใหม่ให้ปิดเครื่องแล้วรออย่างน้อย 10 วินาทีเพื่อให้กระแสไฟฟ้า ไหลออกจากตัวเครื่องให้หมดก่อนแล้วจึงเปิดเครื่องใหม่จึงจะไม่สร้างความเสียหายให้กับฮาร์ดแวร์แต่ในกรณีที่เครื่อง      -แฮงก์ให้ลองบูทเครื่องใหม่โดยการวอร์มลูทคือกดปุ่ม Ctrl + Alt + Del  เสียก่อนแต่ถ้าไม่ได้ผลให้ กดปุ่ม รีเซตที่ด้านหน้าเครื่องแทนซึ่งจะได้ผล เท่ากับการปิดเครื่องและเปิดเครื่องใหม่โดยไม่ทำให้ภาคจ่ายไฟมีอายุการใช้งานสั้นลง
-  ควรนำคีย์บอร์ด คว่ำแล้วเคาะฝุ่นละอองที่ติดตามซอกออกเดือนละครั้งหรือใช้น้ำยาเช็ดทำความสะอาดเพื่อให้สามารถกดปุ่นได้อย่างไม่มีปัญหา
- การดูแลรักษาเมาส์
ควรถอดลูกกลิ้งในเมาส์มาล้างในน้ำอุ่นและขูดสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ที่แกนหมุนภายในเมาส์เนื่องจากหากแกนนี้สกปรกจะทำให้เมาส์เคลื่อนที่ได้ไม่สม่ำเสมอควรทำความสะอาดประมาณ 1-2 เดือนต่อครั้งหรือบ่อยกว่านั้นถ้ารูสึกว่าเมาส์เคลื่อนที่ไม่ราบเรียบ นอกจากนี้ควรใช้แผ่นรองเมาส์และทำความสะอาดแผ่นรองเมาส์ให้สะอาดอยู่เสมอ

วิธีการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ง่ายๆ 10 วิธีดังนี้

1.ทำความสะอาดคอมพิวเตอร์บ้าง วิธีการทำความสะอาดคอมพิวเตอร์นั้นไม่ยากอย่างที่เราคิดครับ แต่ก็ต้องทำให้ถูกหลักด้วยนะครับ เริ่มจากการถอดปลั๊กไฟก่อน และทำความสะอาดโดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเปล่า หรือน้ำยาทำความสะอาดคอมพิวเตอร์ เช็ดส่วนต่างๆที่เป็นตัวเครื่องหรือกรอบหน้าจอ เมาส์ คีย์บอร์ด รวมถึงสายไฟคอมพิวเตอร์

2.เป่าฝุ่นหรือกำจัดฝุ่นที่อยู่บนตัวเครื่อง  สำหรับวิธีนี้แนะนำให้ใช้แปลงทาสีที่มีขนอ่อนๆ อาจจะเป็นแปรงด้ามไม้ไผ่หาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างครับ เพราะหน้าจอหรือตัวเครื่องบางรุ่น หากใช้แปรงที่มีขนหนาอาจทำให้เป็นรอยได้ อย่าลืมใส่ผ้าปิดจมูกก่อนทำความสะอาดนะครับถ้าใครมีเครื่องเป่าฝุ่นหรือเป่าลม สามารถเป่าเครื่องได้นะครับเพื่อไล่ฝุ่นออกจาคอมพิวเตอร์

3.ตรวจเช็คความเรียบร้อยภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์  วิธีนี้อาจยุ่งยากหน่อยสำหรับผู้ที่ไม่ถนัดในด้านการช่างครับ เพราะต้องทำการเปิดฝาเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะต้องไขน็อตที่ล็อกฝาข้างอยู่ ควรตรวจเช็คพัดลมระบายความร้อนและสายไฟที่อยู่ภายในครับว่ายังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีอยู่หรือเปล่าเพราะความร้อนก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คอมพิวเตอร์เสียได้เพราะอุปกรณ์สึกหรอ

4.จัดวางคอมพิวเตอร์ให้ถูกหลัก  สำหรับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ การจัดวางหน้าจอคอมพิวเตอร์ควรวางให้ห่างจากกำแพง หรือมีช่องว่างด้านหลังจอประมาณ 1 ไม้บรรทัด ครับเพราะความร้อนที่กระจายออกมาจะได้มีการระบายที่โล่งและไม่เกิดอุณหภูมิสูง รวมถึงตัวเคสคอมพิวเตอร์ก็ควรตั้งในที่มีช่องระบายความร้อนให้ลมสามารถพัดเข้า-ออกได้  ผู้ที่ใช้โน้ตบุ้คก็เช่นเดียวกันครับ ควรยกระดับด้านล่างของโน้ตบุ้คให้มีช่องว่างระบายอากาศด้านล่างด้วยเนื่องจากโน้ตบุ้คจะมีความร้อนที่สูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป แนะนำให้หาพัดลมตัวเล็กๆ หรือพัดลมตั้งพื้นเป่าจะแน่นอนสุดครับ เย็นทั้งคนและเครื่อง

5.เข้าศูนย์หรือร้านซ่อมคอมใกล้บ้าน  วิธีนี้สำหรับคนที่ไม่สะดวกในการจัดการคอมพิวเตอร์ก็ต้องฝากให้เป็นงานของช่างคอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบกันว่าอุปกรณ์ต่างๆยังอยู่ในสภาพดีไหม ก่อนตรวจเช็คสอบถามราคาในการดำเนินการก่อน

6.จัดการไฟล์ที่ไม่ได้ใช้แล้วหรือไม่สำคัญ  ไฟล์ต่างๆที่เราดาวน์โหลดมาหรือเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หากไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือไม่สำคัญก็ควรลบทิ้งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ เพราะจะทำให้ไม่หนักเครื่องในส่วนของหน่วยความจำ จะได้พร้อมและมีทีว่างรับข้อมูลใหม่

7.จัดระเบียบโฟลเดอร์ต่างๆ  ในส่วนนี้จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและช่วยในเรื่องการทำงานของเราได้เลยครับเพราะหากเราจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ต่างๆให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เวลาที่หาไฟล์ต่างๆก็จะสะดวกมากขึ้น เครื่องก็จะทำงานไม่หนักครับ

8.กำจัดและสแกนไวรัสในคอมพิวเตอร์  วิธีนี้อาจต้องใช้เวลาหน่อยครับเพราะแน่นอนว่าสำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์มานานข้อมูลต่างๆรูปภาพไฟล์เพลง งานต่างๆมากมายที่อยู่ในเครื่องมาจากหลากหลายที่ ทำให้มีไวรัสแฝงตัวอยู่ในโฟลเดอร์ต่างทั้งที่เราไม่รู้บ้าง ยิ่งข้อมูลมากยิ่งใช้เวลาสแกนนานมากขึ้น ลองหาโปรแกรมสแกนไวรัสสักตัวอย่างเช่น nod32 เพื่อให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่มีปัญหาครับ

9.ลบโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้งานทิ้ง : หากเรารู้ว่าโปรแกรมไหนที่เราไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือเกมส์ต่างๆที่เราลงไว้ในคอมพิวเตอร์ไม่ได้เล่นเราควรจะลบออกครับเช่นเดียวกับโฟลเดอร์และไฟล์ เพราะจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไม่ทำงานหนักที่ต้องเตรียมโปรแกรมต่างๆคอยเสิร์ฟเวลาที่เราจะใช้งาน

10.หมั่นหาวิธีหรือการใช้งานที่ถูกต้อง : จริงๆแล้ววิธีนี้ก็คือการใช้งานคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องตามพื้นฐานครับ เพราะถ้าเราไม่รู้หลักในการใช้งานแล้ว ตั้งแต่ข้อ 9 จนถึง 1 ที่กล่าวมาก็อาจทำให้เราละเลยในการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์จากการใช้งานที่ไม่ถูกต้องได้ ไม่ยากครับเพียงแค่เราคอยเอาใจใส่ทั้งตัวเราและคอมพิวเตอร์ ต้องเริ่มจากตัวเราก่อนครับเพราะถ้าเราไม่ดูแลสุขภาพตัวเราก่อน เวลาที่เราจะดูแลคอมพิวเตอร์ก็จะมีน้อยลง

การดูแลรักษา "คอมพิวเตอร์" ที่ถูกวิธี

1. ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ ถ้าคุณจะทำความ สะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ 5 นาที ก่อนลงมือทำความสะอาด 
2. อย่าใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ใช้ผ้าแห้งดีกว่า 
3. อย่าใช้สบู่ น้ำยาทำความสะอาดใด ๆ กับคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ระบบของเครื่อง เกิดความเสียหาย 
4. ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ 
5. ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ 
6. ถ้าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่คู่มือแนะนำไว้เท่านั้น 
7. ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์ 
8. ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
สาเหตุที่ทำให้เครื่องพีซีเกิดความเสียหาย
ความร้อน
ความร้อนที่เป็นสาเหตุทำให้คอมพิวเตอร์มีปัญหา ส่วนใหญ่เกิดจากความร้อนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์เองวิธีแก้ปัญหา คือ จะต้องรีบระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณ์ต่างๆ ออกไปให้เร็วที่สุด
วิธีแก้ปัญหา 
 • พัดลมระบายความร้อนทุกตัวในระบบ ต้องอยู่ในสภาพดี 100 เปอร์เซนต์ อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดควรจะอยู่ระหว่าง 60-70 องศาฟาเรนไฮต์ 
 • ใช้เพาเวอร์ซัพพลาย ในขนาดที่ถูกต้อง
 • ใช้งานเครื่องในย่านอุณหภูมิที่ปลอดภัย อย่าตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงเป็นเวลานานๆ
ฝุ่นผง
เป็นที่ทราบกันดีว่าในอากาศมีฝุ่นผงกระจัดกระจายอยู่ในทุกๆ ที่ ฝุ่นผงที่เกาะติดอยู่บนแผงวงจรของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เสมือนฉนวนป้องกันความร้อน ทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นในระบบ ไม่สามารถระบายออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอก นอกจากนี้อาจไปอุดตันช่องระบายอากาศของเพาเวอร์ซัพพลายหรือฮาร์ดดิสค์ หรืออาจเข้าไปอยู่ระหว่างแผ่นดิสค์กับหัวอ่าน ทำให้แผ่นดิสค์หรือหัวอ่านเกิดความเสียหายได้

วิธีแก้ไข 
 • ควรทำความสะอาดภายในเครื่องทุก 6 เดือน หรือทุกครั้งที่ถอดฝาครอบ 
 • ตัวถัง หรือ ชิ้นส่วนภายนอกอาจใช้สเปรย์ทำความสะอาด 
 • วงจรภายในให้ใช้ลมเป่าและใช้แปรงขนอ่อนๆ ปัดฝุ่นออก 
 • อย่าสูบบุหรี่ใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์

เทคนิค วิธีการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์

1. รู้จักเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง
           เราสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องของเราว่าอุปกรณ์อะไร รายละเอียดเป็นอย่างไร ได้ โดยดูที่ System Properties โดยคลิ๊กเม้าปุ่มขวาที่ My computer เลือก

1. Properties จะปรากฏ System Propeties ขึ้นมา ให้เราคลิ๊กที่ Tab Device Manager เราสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ภายในเครื่องของเราได้
ถ้าเรามีเครื่องพิมพ์ ก็สั่งพิมพ์มาเก็บไว้เลยจะเป็นการดีที่สุดป้องกันการลืม

2. วางแผนในการเก็บรักษา
      การเก็บรักษาไฟล์ข้อมูลในโฟล์เดอร์เราจะต้องเก็บรักษาให้อยู่ในส่วนที่ค้นหาง่ายและมีชื่อที่สามารถจดจำได้ง่าย จะช่วยลดความเสี่ยงที่เราจะลบโปรแกรมหรือข้อมูลเหล่านั้นโดยไม่ได้ตั้งใจ อีกทั้งฮาร์ดดิสก์ที่มีการบริหารรวบรวมที่ดีจะสามารถทำ การแบ๊กอัปสำรองข้อมูลได้ง่ายกว่าและเร็วกว่า และไฟล์ไหนที่เราไม่ได้ใช้เป็นเวลาอย่างน้อย 2 เดือน ควรจะลบไฟล์นั้นออกไป เพราะ ดิสก์ที่ใส่ข้อมูลมากๆ จนเกือบเต็มความจุของมันมักมีแนวโน้มที่จะเกิดความผิดพลาดได้มากกว่า และช้ากว่าฮาร์ดดิสก์ที่ไม่ได้ใส่ข้อมูลจนแน่น

3. ป้องกันไวรัส
แม้ว่าไวรัสคอมพิวเตอร์ที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับเครื่องและข้อมูลของเราได้ ซึ่งในบางครั้งก็ดูออกจะเป็นเรื่องตื่นตระหนกจนเกินเหตุ แต่ความเป็นจริงแล้วไวรัสไม่สามารถที่จะทำอันตรายให้กับเครื่องและข้อมูลของเราได้ ถ้าหากเราไม่ได้สั่งให้มันทำงาน (execute) ไวรัสนั้นติดมาได้ 2 ทาง คือ

1. จากแผ่นดิสก์อื่นที่เรานำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นที่เรายืมหรือก๊อป+++ของเพื่อนมา หรือ แผ่นcd เถื่อนที่เราซื้อมาจากพันธุ์ทิพย์

2. จากอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมที่เราดาว์นโหลดมา หรือ ไวรัสที่ส่งมากับอีเมล์ วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือเราต้องไม่นำมาใช้ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ให้เราหาโปรแกรมสำหรับสแกนไวรัสมาสแกนไวรัสก่อนที่จะนำมาใช้ ยกตัวอย่างเช่น McAfee’s VirusScan Norton AntinVirus หรือ Pc-cillin
แต่ในบางครั้งไวรัสตัวนั้นอาจเป็นไวรัสชนิดใหม่ที่โปรแกรมเหล่านั้นยังไม่สามารถตรวจสอบได้ เราก็จำเป็นต้องไปดาวน์โหลดโปรแกรมสแกนไวรัสเวอร์ชั่นใหม่ ๆ มาใช้งานจากเวบไซด์เหล่านั้น

4. รักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สะอาดอยู่เสมอ
ฝุ่นสามารถทำให้ชิปภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราร้อนขึ้นมามากกว่าธรรมดาและยังเป็นตัวขัดขวางการไหลเวียนระบายความร้อนของอากาศอีกด้วย อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งให้เราถอดปลั๊กต่างๆ และเปิดฝาเครื่องขึ้นมา และเป่าฝุ่นออก อย่าเช็ดด้วยเศษผ้า ให้ใช้ปากเป่าหรือกระป๋องอัดลมสำหรับฉีดลมอย่างใดอย่างหนึ่งในการเป่าฝุ่น





5. ปิดเครื่องด้วยวิธีการที่ถูกต้อง
เมื่อใดก็ตามที่เสร็จการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วจะเลิกการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่าได้ปิดเครื่องเลยทันที เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์มีการเก็บหน่วนความจำแคช ปิดไฟล์ และ เซฟข้อมูลคอนฟิกคูเรชั่นต่างๆ ก่อนที่เราจะปิดเครื่อง (เราจำเป็นต้องต้องสั่งให้คอมพิวเตอร์ของเราชัตดาวน์ (shutdown) ก่อนเสมอ โดยไปที่ Start –> Shutdown แล้วกด OK เท่านี้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราก็จะจบการทำงานได้อย่างสวยงาม)

วิธีทำความสะอาดคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ของคุณเป็นที่สะสมฝุ่นละออง  และสิ่งสกปรกเอาไว้มากมาย ต้องการการดูแลเอาใจใส่เหมือนๆกับเครื่องมือ เครื่องใช้อื่นๆ เป็นประจำเช่นเดียวกัน  คุณจำเป็นต้องทำความสะอาดคีย์บอร์ด เมาส์ และหน้าจอ  แน่นอนที่คุณอาจจะไม่ได้ใส่ใจที่จะทำความสะอาดภายในสักเท่าไร ฝุ่นละอองที่ก่อตัวขึ้นในเคสอาจทำให้เกิดความร้อนและทำให้ส่วนประกอบอื่นๆ เสียหายได้  ข้อปฏิบัติในการทำความสะอาดแบบง่ายๆนี้ จะช่วยรักษาความสะอาดเครื่องได้ทั้งภายในและภายนอก

1. วางคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 3 นิ้ว ไม่ให้ถูกแสงแดดและมีอากาศถ่ายเท การเชื่อมต่อสายไฟ/สายอุปกรณ์ถูกต้องและจัดเก็บเรียบร้อย หากมีการเคลื่อนย้ายให้แจ้งงานพัสดุและงาน IT

2. ทำความสะอาดคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (อย่างน้อยเดือนละครั้ง) ดังนี้
    - ปิดคอมพิวเตอร์ จอภาพ และเครื่องพิมพ์
    - ใช้แปรงปัดฝุ่นตามซอกภายนอกตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และคีย์บอร์ด เทน้ำยาทำความสะอาดคอมพิวเตอร์ลงบนผ้านุ่ม แล้วเช็ดทำความสะอาด และใช้ผ้าแห้งเช็ดอีกครั้งหนึ่ง
    - ฉีดสเปรย์ทำความสะอาดจอคอมพิวเตอร์บนผ้านุ่ม แล้วเช็ดทำความสะอาดให้ทั่วจอภาพ และใช้ผ้าแห้งเช็ดอีกครั้งหนึ่ง
    - ใช้ผ้านุ่มเช็ดทำความสะอาดเครื่องพิมพ์ทั้งในและนอกตัวเครื่อง
    - งานสารสนเทศจะเป่าฝุ่นละอองภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ (ทุก 6 เดือน)


    - คณะกรรมการ IT ของกลุ่มงาน ควบคุมดูแลการปฏิบัติเป็นประจำ และงานสารสนเทศตรวจสอบทุกไตรมาส

3. ปิดคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์เมื่อไม่ใช้งาน งดใช้คอมพิวเตอร์ในช่วงที่มีฝนตกหรือใกล้จะตก และถอดปลั๊กไฟฟ้าออกทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
4. ติดตั้งเฉพาะโปรแกรมที่จำเป็นต้องใช้

5. ต้องเก็บข้อมูลไว้ในไดร์ฟ D:\ หรืออุปกรณ์สำรองข้อมูล หากเก็บข้อมูลไว้ที่ Desktop หรือไดร์ฟ C:\ อาจทำให้ข้อมูลสูญหายได้

6. ละเว้นการใช้ Internet เพื่อดูหนัง ฟังเพลง ใช้เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมหรือ Download ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน

7. สแกนไวรัสทุกไดร์ฟอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง สแกน Flash drive ทุกครั้งก่อนใช้งาน และเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ Update โปรแกรมสแกนไวรัสทุกวัน

8. Disk Cleanup และ Defragment คอมพิวเตอร์ อย่างน้อยเดือนละครั้ง 

การบำรุงรักษา Hard Disk
       ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่มีอายุยืนมากยากจะบำรุงรักษาด้วยตัวเอง ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายซึ่งควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
 * การติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ควรติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์โดยให้ด้านหลังของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ห่างจากฝาผนังไม่น้อยกว่า 3 นิ้ว เพื่อการระบายความร้อน 0 เป็นอย่างปกติไม่ทำให้เครื่องร้อนได้
  * ควรเลือกใช้โตีะทำงานที่แข็งแรงป้องกันการโยกไปมาเพราะทำให้หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ถูกกระทบกระเทือนได้
  * ควรมีการตรวจสอบสถานภาพของ Hard Disk ด้วยโปรแกรม Utility ต่างๆว่ายังสามารถใช้งานได้ครบ 100 % หรือมีส่วนใดของ Hard Disk ที่ใช้งานไม่ได้

การบำรุงรักษา Disk Drive
       ช่องอ่านดิสก์เมื่อทำงานไปนานๆหัวอ่านแผ่นดิสก์อาจจะเสื่อมสภาพไปได้ หัวอ่านดิสก์เกิดความสกปรกเน่องจากมีฝุ่นละอองเข้าไปเกาะที่หัวอ่าน หรือเกิดจากความสกปรกของ แผ่นดิสก์ที่มีฝุ่น หรือคราบไขมันจากมือ ผลที่เกิดขึ้นทำให้การบันทึก หรืออ่านข้อมูลจากแผ่นดิสก์ไม่สามารถดำเนินการได้
การดูแลรักษา Disk Drive ควรปฏิบัติดังนี้
  * เลือกใช้แผ่นดิสก์ที่สะอาดคือไม่มีคราบฝุ่น ไขมัน หรือรอยขูดขีดใดๆ
 * ใช้น้ำยาล้างหัวอ่านดิสก์ทุกๆเดือน
 * หลีกเลี่ยงการใช้แผ่นดิสก์เก่าที่เก็บไว้นานๆ เพราะจะทำให้หัวอ่าน Disk Drive สกปรกได้ง่าย
ก่อนนำแผ่นดิสก์ออกจากช่องอ่าน Disk Dirve ควรจะให้ไฟสัญญาณที่ Disk Drive ดับก่อน เพื่อป้องกันหัวอ่านชำรุด 

การบำรุงรักษา Inkjet & Dotmatrix Printer
       เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแสดงผล รายงาน ของข้อมูลต่างๆทางกระดาษ การที่จะใช้เครื่องพิมพ์ทำงานได้เป็นปกติผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรหมั่นดูแลรักษาดังนี้
 * รักษาความสะอาด โดยดูดฝุ่น เศษกระดาษที่ติดอยู่ในเครื่องพิมพ์ทุกเดือนหรือใช้แปรงขนนุ่มปัดฝุ่นเศษกระดาษออกจากเครื่องพิมพ์อย่าใช้แปรงชนิดแข็งเพราะอาจทำให้เครื่องเป็นรอยได้
 * ถ้าตัวเครื่องพิมพ์มีความสกปรกอาจ ใช้ผ้านุ่มหรือฟองน้ำชุบน้ำยาทำความสะอาดเครื่องใช้สำนักงานเช็ดถูส่วนที่เปนพลาสติกแต่ต้องระมัดระวังอย่าใช้น้ำเข้าตัวเครื่องพิมพ์ได้ และควร หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหล่อลื่นทุกชนิด ในตัวเครื่องเพราะอาจทำให้ระบบกลไกเสียหายได้
 * ก่อนพิมพ์ทุกครั้งควรปรับความแรง ของหัวเข็มให้พอเหมาะกับความหนาของกระดาษ
 * ระหว่างพิมพ์ควรระวังหัวพิมพ์จะติดกระดาษ เช่น การพิมพ์ซองจดหมาย หรือกระดาษที่มีความหนาหรือบางเกินไป
 * อย่าถอดหรือเสียบสาย Cable ในขณะที่เครื่องพิมพ์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่
 * ไม่ควรพิมพ์กระดาษติดต่อกันนานเกินไปเพราะอาจทำให้หัวอ่านร้อนมากทำให้เครื่องชะงักหยุดพิมพ์กระดาษ

 * เมื่อเลิกพิมพ์งานควรนำกระดาษออกจากถาดกระดาษ และช่องนำกระดาษ
 * ไม่ควรใช้กระดาษไข (Stencil Paper) แบบธรรมดากับเครื่องพิมพ์ประเภทแบบกระแทก (Dotmatrix Printer) เนื่องจากเศษของกระดาษไขอาจจะไปอุดตันเข็มพิมพ์ อาจทำให้เข็มพิมพ์อาจหักได้ควรใช้กระดาษไขสำหรับเครื่องพิมพ์แทน เพื่อป้องกันการชำรุดของเฟืองที่ใช้หมุนกระดาษ

การบำรุงรักษา Laser Printer
         Laser Printer เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถพิมพ์ภาพได้อย่างคมชัดมากมีความละเอียดสวยงาม แต่ราคาค่อนข้างสูงผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรระมัดระวังในการใช้งานแม้ว่าโอกาสจะเสียหายมีน้อยก็ตาม ข้อควรปฏิบัติดังนี้
 * การเลือกใช้กระดาษไม่ควรใช้กระดาษ ที่หนาเกินไปจะทำให้กระดาษติดเครื่องพิมพ์ได้
 * ควรกรีดกระดาษให้ด ี อย่าให้กระดาษติดกัน เพราะอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระดาษติดในตัวเครื่องพิมพ์ได้
 * การใช้พิมพ์ Laser Printer พิมพ์ลงในแผ่นใส ก็ต้องเลือกใช้แผ่นใสที่ใช้ถ่ายเอกสารได้เท่านั้น หากใช่แผ่นใสแบบธรรมดาซึ่งไม่สามารถทนความร้อนได้อาจจะหลอมละลายติดเครื่องพิมพ์ทำให้เกิดความเสียหาย 

ตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์
1. สภาพภายนอก แนะนำให้ทำความสะอาดสักนิด อย่างน้อยก็เพื่ออนามัย และสุขภาพของคุณเอง คุณทราบหรือไม่ แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด มันสกปรกขนาดไหน (ลองคิดเล่นๆ ดูว่า วันๆ คุณหยิบจับอาหาร และใช้งานแป้นพิมพ์ หรือไม่ และฝุ่นละอองข้างๆ มีมากน้อยเพียงใด) ควรทำสะอาดบ้าง อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

2. สายไฟ สายสัญญาณต่างๆ หลวม หรือหักชำรุดหรือไม่ แนะเสียบปลั๊กแล้ว ไฟติดๆ ดับๆ บ่อยๆ แนะนำให้รีบแก้ไข ถ้าแก้ไขไม่ได้ ให้รีบซื้อเปลี่ยนใหม่ดีกว่า ไฟติดๆ ดับๆ บ่อยๆ มีบ่อยกับคอมพิวเตอร์อย่างมาก วันดี คืนดี อาจเปิดไม่ติดเลย



3. พื้นที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์ หลังจากเปิด Windows เข้ามาแล้ว ลองเช็คพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ เสียก่อนว่า เหลือเท่าไหร่ ถ้าเหลือน้อยกว่า 500 MB ก็ควรพิจารณาเพิ่มพื้นที่ว่างได้แล้ว โดยเฉพาะกับ Drive C: (ซึ่งเป็นที่เก็บโปรแกรม) แนะนำให้สำรองข้อมูล โดยเฉพาะไฟล์ต่างๆทีอยู่ใน My Documents ออกไปบ้าง หรืออาจสำรองลง Drive อื่นๆ (ถ้ามี)

4. ตรวจสอบสภาพฮาร์ดดิสก์ นอกเหนือเรื่องพื้นที่ว่างแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ว่ามีจุดไหนเสียหรือไม่ วิธีการไม่จำเป็นต้องแกะเครื่องคอมฯ มาตรวจสอบ เพียงแค่ใช้โปรแกรมช่วยตรวจสอบ ประเภท Disk Defragment ก็สามารถเช็คได้แล้วว่า ฮาร์ดดิสก์ของเรามี "Bad 
Sector"

5. ตรวจสอบไวรัสบ้าง ถึงแม้ว่าเราจะมีโปรแกรม Antivirus แล้วก็ตาม เราก็ยังคงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบไวรัสอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง และที่สำคัญก็ควรอัปเดทโปรแกรมแบบออนไลน์ให้ทันสมัยอยู่เสมอด้วยเช่นกัน
การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ จะแบ่งออกเป็นหลักๆ ได้ 3 อย่าง                                                               1. การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ ทางด้าน Hardware (ฮาร์ดแวร์) อุปกรณ์ต่างๆ ภายใน และภายนอกคอมพิวเตอร์
    
- เรื่องความสะอาด เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับ การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่าง หากไม่ทำความสะอาดเลยจนมีฝุ่นไปติดตามที่ระบายอากาศของคอมพิวเตอร์ จะทำให้การระบายความร้อนไม่ได้ เป็นสาเหตุให้คอมพิวเตอร์ร้อน และเกิดอาการเครื่องค้าง หรือแฮงค์ หรือจะเป็นเรื่องปุ่มคีย์บอร์ด หากไม่ทำความสะอาดเลยเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน บริเวณปุ่มกดจะสกปรกมาก ๆ ซึ่งเมืองนอกวิจัยกันมาแล้วว่า สกปรกพอ ๆ กับห้องน้ำ เลยทีเดียว ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพแน่นอน

- ที่ตั้งของคอมพิวเตอร์ ที่เราไปวางไว้เป็นมุมอับ การระบายความร้อนจะไม่ดีเท่าที่ควร แนะนำ อย่าวางใกล้ชิดติดกำแพง หรือไปวางในมุมอับ ควรเป็นมุมที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก จะดีที่สุด ถ้าไม่มีมุมที่ตั้งจริงๆ ก็เอาพัดลมเป่าช่วยก็ได้                                                                                                 2. การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ ทางด้าน Software (ซอฟต์แวร์) โปรแกรมที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เรื่องการดูแลรักษา Software  มีโอกาสเจอได้หลายรูปแบบ มีข้อระมัดระวัง คือ

- การลงโปรแกรม  ลงเฉพาะที่เราใช้ การลงโปรแกรมมากไปจะทำให้เครื่องอืด หรือช้า จนถึงอาการที่เรียกว่า แฮงค์
     
 - การเก็บข้อมูล ข้อมูล เอกสาร ไฟล์ต่างๆ ที่เราจะเก็บไว้ แนะนำอย่าไปเก็บใน Drive C: ควรเก็บไว้ Drive อื่นแทน ส่วนมาก Drive C ควรลงเฉพาะโปรแกรม ไม่ควรเก็บไฟล์งานที่สำคัญ หรือพวกหนังเพลงเอาไว้ เนื่องจากส่วนมากเวลามีปัญหาจะเกิดกับ Drive C เป็นหลัก อีกอย่างเมื่อต้องการล้างเครื่องลงโปรแกรมใหม่ ก็สามารถลบ Drive C แล้วลงใหม่ได้ Windows หรือระบบปฏิบัติการใหม่ได้เลย ไม่จำเป็นต้องเสีย

เวลาย้ายข้อมูลไปไว้ Drive อื่น
     
 - การเข้า Web ผู้ใหญ่ เช่น เว็บโป๊ ส่วนมากเว็บแนวนี้เป็นช่องทางที่ดีเลยครับสำหรับ พวก Hacker เพราะสามารถฝังไวรัส หรือ สปายแวร์ ไว้กับเครื่องผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บดังกล่าว ส่วนมากจะมีกิจกรรมให้ทำหน้าเว็บ เช่น เชิญคลิก อะไรประมาณนี้ เมื่อเราคลิกแล้วก็จะติดตั้งไวรัส หรือ สปายแวร์ ลงเครื่องผู้ใช้ ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงเว็บเหล่านี้ หากเลี่ยงไม่ได้เมื่อเข้าไปแล้ว ก็พยายามอย่าคลิกอะไรมั่ว ๆ นะ
     - ติดโปรแกรมพวกป้องกัน ป้องกันไว้รัส ป้องกันสปายแวร์ และหมั่น Update โปรแกรมพวกนี้อยู่เสมอ จะช่วยได้ระดับหนึ่งเลย
     - การดูแล และ บำรุงรักษาระบบ ขั้นพื้นฐาน สิ่งที่ทำก็คือ Disk Cleanup ( เก็บกวาดขยะบนฮาร์ดดิส ), Check disk ( ตรวจสอบสภาพฮาร์ดดิส ) และ Disk Defragmenter ( จัดเรียงข้อมูลเพื่อเร่งความเร็ว )
3. การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ทางด้าน Peopleware (พีเพิลแวร์) บุคคลที่ใช้งาน คอมพิวเตอร์ 
       - หมั่นศึกษาหาข้อมูล ด้วยการอ่านหนังสือ หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ให้ความรู้
        - ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานช้า เวลาสั่งคอมพิวเตอร์ให้ทำอะไร ควรรอคอมพิวเตอร์ประมวลผลให้เสร็จก่อนที่จะทำการเปิดโปรแกรมอื่น ๆ เพราะถ้าเราเปิดโปรแกรมอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมาอีกจะทำให้คอมพิวเตอร์แฮงค์ หรือค้างได้






วิธีดูแลคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ

1. สแกนหาไวรัสจัดเป็นข้อควรปฏิบัติที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ที่คุณควรให้ความสำคัญและหมั่นทำเป็นประจำ  เพื่อการป้องกันที่เต็มประสิทธิภาพ จากนั้นทำการสแกนฮาร์ดดิสก์ทั้งหมดที่ติดตั้งอยู่ในระบบ  ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้กำหนดตารางเวลาในการสแกนเป็นประ จำทุกสัปดาห์

2. ปัดกวาดไฟล์หรือขยะที่ไม่ได้ใช้ ยิ่ง ใช้งานเครื่องมานานเท่าใด ไฟล์ข้อมูลเก่าๆ หรือขยะในเครื่องก็จะเพิ่มพูนมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูลเก่า โปรแกรมเก่า ไฟล์ชั่วคราวที่หลงเหลือจากการท่องอินเทอร์เน็ต รวมทั้งไฟล์ที่ตกค้างจากการติดตั้งโปรแกรมในโฟลเดอร์เก็บไฟล์ชั่วคราวของวินโดว์ส ซึ่งวิธีการง่ายๆ ในการกำจัดไฟล์ขยะเหล่านี้ก็คือการใช้ยูทิลิตี้ Disk Cleanup ของวินโดว์ส
หรือจากออปชันทำความสะอาดไฟล์ในโปรแกรม IE โดยตรง (Tools -> Internet Options)

3. กำจัดขยะในซอกหลืบ  คือโปรแกรมอย่างเช่น Ad-aware หรือ Spybot Search & Destroy ที่หาดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ตที่สำคัญคืออย่าลืมอัพเดตฐานข้อมูลให้กับโปรแกรมดังกล่าวก่อนเริ่มทำการสแกนระบบด้วย

4. หมั่นใช้สแกนดิสก์  ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้นคือการใช้ยูทิลิตี้ Scandisk ของวินโดว์สในการตรวจสอบหาจุดที่เกิด Bad Sector   และย้ายข้อมูลที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ไปยังเซกเตอร์อื่นๆ ที่ปกติทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของไฟล์ข้อมูล   โดยในหน้าต่างยูทิลิตี้ Scandisk นั้นให้คุณเลือกออปชัน Scan for and attempt recovery of bad sectors ด้วยก่อนเริ่มทำการสแกน  นอกจากนี้หากคุณใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 98/Me แนะนำให้ปิดการทำงานของสกรีนเซฟเวอร์ก่อนเริ่ม Scandisk ด้วย

5. จัดเรียงข้อมูลให้เป็นระเบียบ โปรแกรม Defragmenter ที่ไม่ต้องเสียเวลาหาให้ไกลเพราะมีอยู่ในวินโดว์สทุกเวอร์ชันแล้วนั้นจะช่วยในการจัดเรียงข้อมูลที่ถูกเขียนลงฮาร์ดดิสก์อย่างสะเปะสะปะให้มีระเบียบและเป็นชิ้นเป็นอันมากขึ้น  ทั้งนี้ก็เพื่อให้หัวอ่านฮาร์ดดิสก์ไม่ต้องทำงานหนัก และใช้เวลาในการอ่านข้อมูลสั้นลง  และโปรดอย่าเข้าใจผิดคิดว่าโปรแกรมจะจับไฟล์ในโฟลเดอร์ของคุณไปสลับสับเปลี่ยนหรือเรียงไว้ในโฟลเดอร์อื่นๆจนหาไม่เจอ  เพราะการ Defrag นั้นจะทำการจัดเรียงไฟล์ข้อมูลบนดิสก์เท่านั้นไม่ส่ง ผลกระทบต่อโครงสร้างการเก็บไฟล์ในวินโดว์สแต่อย่างใด


6. เก็บทุกอย่างให้เข้าที่
ขั้นตอนนี้จะเรียกว่าเป็นวินัยส่วนตัวก็ว่าได้
เพราะไม่ว่าจะเป็นลิ้นชักตู้เสื้อผ้าหรือฮาร์ดดิสก์ก็ล้วนต้องการระบบระเบียบในการจัดเก็บที่ดีด้วยกันทั้งนั้นฟังดูอาจเป็นงานที่น่าเบื่อ แต่ถ้าฝึกให้เป็นนิสัยตั้งแต่แรกก็แทบจะไม่ต้องทำอะไรเลย
ส่วนใครที่ยังเก็บไฟล์ทุกชนิดทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสารเวิร์ด ไฟล์รูปภาพ ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เพลง ฯลฯ  ปนกันมั่วไว้ในโฟลเดอร์เดียวกัน เตรียมตัวเตรียมใจกับเรื่องปวดหัวในการค้นหาไฟล์เมื่อต้องการใช้งานให้ดี แต่ถ้าไม่อยาก ก็สละเวลาจัดการจัดไฟล์ลงโฟลเดอร์ให้เรียบร้อยเสียตั้งแต่วันนี้


การบำรุงรักษาตัวเครื่องทั่วๆไป 

•เครื่องจ่ายไฟสำรอง(UPS)ถ้ามีงบประมาณเพียงพอควรติดตั้งร่วมกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยเพราะUPS จะช่วยป้องกันและแก้ปัญหาทางไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นไฟตกไฟเกินหรือไฟกระชาก อันเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายของข้อมูลและชิ้นส่วนอื่นๆ 

• การติดตั้งตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ควรติดตั้งในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศหรือถ้ามีไม่มีเครืองปรับอากาศควรเลือกห้องที่ปลอดฝุ่นมากที่สุดและการติดตั้งตัวเครื่อง    ควรจากผนังพอสมควรเพื่อการระบายความร้อนที่ดี 

 • การต่อสาย Cable ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่างๆเช่น Printer Modem Fax หรือส่วนอื่นๆจะต้องกระทำเมื่อ power off เท่านั้น 

• อย่าปิด - เปิดเครื่องบ่อยๆ เกินความจำเป็น เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายแก่โปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ 

 • ไม่เคลื่อนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เครื่องทำงานอยู่ เพราะจะทำให้อุปกรณ์บางตัวเกิดความเสียหายได้ 

 • อย่าเปิดฝาเครื่องขณะใช้งานอยู่ ถ้าต้องการเปิดต้อง power off และถอดปลั๊กไฟก่อน 

 • ควรศึกษาจากคู่มือก่อนหรือการอบรมการใช้งาน Software ก่อนการใช้งาน 

• ตัวถังภายนอกของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เป็นส่วนประกอบของเหล็กกับพลาสติกเมื่อใช้นานๆจะมีฝุ่นและคราบรอยนิ้วมือมาติดทำให้ดูไม่สวยงามและถ้าปล่อยไว้นานๆจะทำความสะอาดยากจึงควรทำความสะอาดบ่อยๆอย่างน้อย1-2เดือนต่อครั้งโดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆเช็ดที่ตัวเครื่อง    หรือใช้น้ำยา
ทำความสะอาดเครื่อง
คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ และที่สำคัญคือ ควรใช้ผ้าคลุมเครื่องให้เรียบร้อยหลังเลิกใช้งานทุกครั้งเพื่อป้องกันฝุ่นผงต่างๆ 




1 ความคิดเห็น:

  1. Iron Strike gold core - Titanium Price Per ounce - TITNIAA
    Iron Strike gold core. The titanium ore terraria iron core is a solid titanium frames steel titanium armor core. The metal core is one of the most highly used titanium keychain pieces in the titanium armor world. Iron Strike gold

    ตอบลบ